วัดอรุณฯ ตั้งโรงทานถวายภัตตาหารพระ-เณรออกบิณฑบาตไม่ได้

พระครูปลัดดิลกวัฒน์ (ชุมพร) เลขานุการวัดอรุณราชวราราม กล่าวว่า ตามที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกใหม่ ส่งผลให้พระภิกษุสามเณรภายในวัดอรุณฯ ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ พระธรรมรัตนดิลก (สมเกียรติ โกวิโท) เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) เจ้าคณะภาค 9 จึงมีนโยบายให้จัดตั้งโรงทานวัดอรุณฯ เพื่อจัดทำอาหารปิ่นโตไปถวายพระภิกษุสามเณรภายในวัดทั้งในช่วงเวลาฉันภัตตาหารเช้า และเพล ทุกวัน ตั้งแต่เดือนพ.ค.เป็นต้นมา และจะดำเนินโครงการนี้ไปตลอดจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลาย พร้อมกันนี้โรงทานวัดอรุณฯ ยังมีการจัดทำอาหารกล่องมอบให้ผู้นำชุมชนใกล้เคียงวัดอรุณฯ...

มส.ออกแนวปฏิบัติการจัดพิธีศพผู้เสียชีวิตจากติดเชื้อโควิด-19

นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ในฐานะโฆษกพศ. กล่าวว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) เมื่อเร็วๆ นี้ เห็นชอบแนวปฏิบัติในการจัดงานศพในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งศพที่เสียชีวิตปกติ และศพที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยศพที่เสียชีวิตปกติ ให้มีการจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพไม่ควรเกิน 3 วัน และจำกัดผู้เข้าร่วมงานไม่เกินวันละ 30 คน และผู้ร่วมงานต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย พร้อมทั้งปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ส่วนแนวทางในการจัดพิธีศพที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มีดังนี้...

วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ตั้งโรงทานทำข้าวกล่องช่วยบุคลากรทางการแพทย์-ประชาชน

พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า  เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.64  โรงทานวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ได้ร่วมกันทำอาหาร(ข้าวกล่อง) เพื่อนำไปมอบให้โรงพยาบาลศรีสะเกษ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ ได้จัดตั้งโรงทานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ เพื่อสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตได้ร่วมทำอาหารเป็นข้าวกล่องที่เน้นความสด สะอาด...

“เจ้าคุณประสาร” ลงพื้นที่ร่วมกับโรงทาน มจร วิทยาเขตขอนแก่น ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19

           เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.64 พระเมธีธรรมจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  เปิดเผยว่า ภายหลังจากการได้รับมอบเงินและเครื่องอุปโภคบริโภคจากผู้มีจิตศรัทธาในนาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯแล้ว ก็ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงทานครอบคลุมทุกภูมิภาคใน 6 แห่งทั่วประเทศ คือ ที่วิทยาเขตนครศรีธรรมราช วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์ และที่...

มจร ปลื้ม ได้คะแนนสูงสุดผลประเมิน ป.ป.ช. คุณธรรมและความโปร่งใส

พระครูโสภณพุทธิศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กล่าวว่า มจร ได้รับคะแนนสูงสุด ระดับ AA มีคะแนนสูงเป็นอันดับ 5 ของประเภทสถาบันอุดมศึกษา จากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปี 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  ขณะที่พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้มีสารถึงอธิการบดี มจร เนื่องในโอกาสที่...

สาวนักธุรกิจ เข้าวัดไผ่ล้อมแก้บนไข่ไก่ 1 พันฟอง “หลวงพ่อพูล” เผย อธิษฐานขอพรสำเร็จดังหวัง

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้เดินทางไปยังวิหารพระพุทธเมตตาประทานพร วัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม หลังทราบว่ามีเจ้าของธุรกิจเดินทางมาแก้บนไข่ไก่ 1,000 ฟอง กับหลวงพ่อพูล อัตตรักโข อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ก่อนจะลาและนำไข่ไก่แจกจ่ายให้กับคนงาน คนขับรถรับจ้าง และผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และจากการสอบถามสาวใหญ่เจ้าของธุรกิจที่นำไข่ไก่มาแก้บนหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม ทราบชื่อคือ นางสาวนิศารัตน์  ด่านตระกูล ได้มาแก้บนพร้อมเพื่อนๆและได้โชว์สิ่งที่พกติดตัวในกระเป๋าเงิน พร้อมหยิบโชว์ให้ดูและกล่าวว่า ...

“อนุชา” ยันเงินเยียวยาโควิดพระสงฆ์ ไม่ปล่อยให้เงียบหาย

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยถึงเงินเยียวยาพระสงฆ์ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ว่า ได้ประสานสอบถามความคืบหน้า และติดตามเรื่องไปยังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง โดยตลอด ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้เงียบหาย ยังคงติดตามเรื่อง และดำเนินการตามขั้นตอนอยู่ เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดข้อผิดพลาดทำให้เงินเยียวยาพระสงฆ์ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดจึงยังไม่ผ่านการพิจารณา ซึ่งตนไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงติดตามเรื่องอยู่ตลอด เพราะตนก็เป็นห่วง ทั้งยังได้รับการสอบถามจากพระสงฆ์อยู่ตลอด สำหรับสาเหตุที่เงินเยียวยาพระสงฆ์ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่ผ่านการพิจารณานั้น เนื่องจากกลุ่มพระสงฆ์ไม่มีอยู่ในระเบียบที่จะต้องได้รับเงินเยียวยา ซึ่งทางพศ.ได้มีการทำเรื่องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่พระสงฆ์ถือเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ไปแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...

มจร ปล่อยคาราวานรถขนเครื่องอุปโภค-บริโภคจัดตั้งโรงทาน

วันนี้ ( 27 พ.ค.64) พระเทพวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) พระเทพปวรเมธี  ประธานศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มจร  นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม ประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตในทุกภาคส่วน และผู้มีจิตศรัทธาประกอบด้วย ดร.อโนมา วิตรวิกรม ดร.ทวีศักดิ์ เผ่าบัณฑูร...

“สมเด็จพระสังฆราช” ประทานพระคติธรรมวิสาขบูชาปี 64

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.64 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม  เนื่องในวันวิสาขบูชา 26 พ.ค. 2564 ใจความว่า ดิถีวิสาขบูชา อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นวันสำคัญสากลของโลก ได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ชวนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถราชกุมารเสด็จอุบัติขึ้นบนโลกนี้ ดังปรากฏเรื่องราวในพระไตรปิฎกว่า พระองค์ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ทอดพระเนตรทิศทั้งหลาย...

มจร จัดตั้งโรงทานทุกภาคทั่วประเทศ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

               วันที่ 25 พ.ค.64 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้สนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยได้ระดมเครื่องอุปโภค บริโภคและปัจจัยจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปเพื่อนำไปจัดตั้งโรงทานในทุกภูมิภาค  6  แห่งประกอบด้วย 1.ภาคอีสาน โรงทานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น และโรงทานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ  2.ภาคเหนือ โรงทานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ...
- Advertisement -

ข่าวใหม่ประจำวันนี้

ศน. เสริมสร้างเครือข่ายส่งเสริมศีลธรรม หนุนหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคมไทยขับเคลื่อนสังคมให้เป็นสังคมคุณธรรมด้วยมิติศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการนำหลักธรรมไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สังคมมีความสงบ มีความร่มเย็นในใจ ซึ่งการเสริมสร้างศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดแก่คนในชาตินั้น นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ทุกภาคส่วนทั้งวัด ส่วนราชการ สถานศึกษาและองค์กรต่างๆ ต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและจริงจัง นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) เปิดเผยว่า กรมการศาสนาได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง “หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา” หรือ นศพ. ตามระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๖๓...

วธ.ปลื้ม 20 สุดยอดชุมชนต้นแบบปี 64-65 สร้างรายได้ท่องเที่ยวกว่า 1,200 ล้านบาท เดินหน้าเปิดชุมชนยลวิถีวัดท่าขนุน กาญจนบุรี 5 พ.ค.นี้

หนุนขับเคลื่อน Soft Power ทั้งด้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม องค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม อาหารและการแสดงพื้นบ้าน นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี 2566 ชุมชนคุณธรรมฯ วัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ตำบลเวียง  อำเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้ว่า  กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)มีนโยบายขับเคลื่อน Soft...

เจ้าคุณประสาร แนะคุณสมบัติที่เหมาะสมของรัฐมนตรีที่จะมากำกับดูแลสำนักพุทธฯ

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.67 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้ปรับครม.เศรษฐา 1/1 ในการปรับครั้งนี้มีทั้งรัฐมนตรีที่ถูกปรับออก เข้าใหม่และสลับตำแหน่งหลายคน ในส่วนของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลและสั่งการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)นั้น คนเดิม(นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด) ก็ทำหน้าที่ได้ดี มีผลงานและทำงานเชิงรุกกับพระสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯที่มาใหม่ 3 ท่านนั้นล้วนแล้วแต่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสม แต่ถ้าจะแยกตามความถนัดในบางงานบางมุมจะเห็นได้ว่า นายพิชิต ชื่นบาน ทำงานใกล้ชิดวัดวาอาราม...