สะพายกระติ๊บข้าว เอามื้อสามัคคี สร้างวิถีเรียนรู้สู่ความพอเพียง ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.”

0
405

อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ขับเคลื่อน โคก หนอง นา พช. กิจกรรม สะพายกระติ๊บข้าว เอามื้อสามัคคี สร้างวิธีเรียนรู้ สู่ความพอเพียง ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช.

วันที่ 17 มิถุนายน  2564 เวลา 09.00 น. นายธรรมนูญ  แจ่มใส นายอำเภอเดชอุดม มอบหมายนายอุบล  พีระพรปัญญา ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง  นายวิริยะ  เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม นายจรูญ  ชินทะวัน เกษตรอำเภอเดชอุดม และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ร่วมกิจกรรม สะพายกระติ๊บข้าว เอามื้อสามัคคี สร้างวิถีเรียนรู้ สู่ความพอเพียง ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พช. หมู่ที่ 6 ตำบลบัวงาม จำนวน 3 แปลง ดังนี้

เวลา 09.00 น. แปลงครัวเรือนต้นแบบ (hlm) ขนาดพื้นที่ 1 ไร่  นางกัญหา  บุญเสริฐ บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 6 ตำบลบัวงาม ซึ่งได้ขุดปรับพื้นที่และส่งมอบวัสดุมื้อสามัคคีเรียบร้อยแล้ว และครัวเรือนได้ปลูกกล้วย ยางนา มะนาว พยุง และพืชผักระยะสั้น และกิจกรรมเอามื้อ ทำปุ๋ยหมัก ห่มดิน โดยมี นพต.ตำบลบัวงาม จำนวน 10 คน ครัวเรือนต้นแบบร่วมโครงการ และประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน 15 คน ร่วมกิจกรรมเรียนรู้เอามื้อสามัคคี ครั้งที่ 1

  1. เวลา 10.30 น. แปลงครัวเรือนต้นแบบนางเสริมพันธ์  จุกจันทร์ บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 6 ขุดเสร็จและได้รับวัสดุมื้อสามัคคีและดำเนินการปลูกเรียบร้อย กิจกรรมเอามื้อวันนี้ ทำการห่มดินให้ต้นไม้

เวลา 11.30 น. แปลงครัวเรือนต้นแบบ HLM แปลงนางสมใจ  สิงห์ชา บ้านเลขที่ 159 หมู่ที่ 6 ตำบลบัวงาม โดยมีนายอุบล  พีระพรปัญญา  ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มบริหารงานปกครอง นายวิริยะ  เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม นายจรูญ  ชินทะวัน เกษตรอำเภอเดชอุดม พร้อมด้วยนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) บัวงาม จำนวน 10 ครัว ครัวเรือนต้นแบบ และประชาชนในหมู่บ้าน ได้ห่อข้าวใส่กระติ๊บข้าว แบกจอบ เจียม ปุ๋ย ร่วมเอามื้อสามัคคี ทำกิจกรรมใส่ปุ๋ยต้นไม้ ห่มดิน และเรียนรู้การห่มดินเพิ่มเติมจากท่านเกษตรอำเภอเดชอุดม เพื่อไม่ให้ต้นไม้เน่าตาย และนายวิริยะ เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม ได้สอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งครัวเรือนต้นแบบที่มาร่วมโครงการมีความพึงพอใจและดีใจที่ได้รับโอกาสครั้งนี้  และยังขอบคุณท่านนายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ ผู้เกี่ยวข้องทุกคน โดยเฉพาะกรมการพัฒนาชุมชน ที่มีโครงการดีๆให้ประชาชนได้นำมาพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่มั่นคงต่อไป หลังจากนั้นได้รับประทานอาหารมื้อเที่ยงร่วมกัน เกิดความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี ระหว่างครัวเรือนต้นแบบ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและส่วนราชการ