หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศลถวายผ้าไตรแด่พระสงฆ์ 88รูป ณ อุทยานนาควัตร จ.อุบลราชธานี

0
849

เมื่อวันที่ 9 เม.ย.64 หม่อมเจ้าอุทัยกัญกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน ถวายแด่สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงวรเดช (ทูลกระหม่อมปู่) บิดาแห่งกรมไปรษณีย์ไทย ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์ ถวายแด่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยะเดช (เสด็จพ่อ) และพระญาติวงศ์ โดยนิมนต์พระสงฆ์ 88รูป รับเครื่องไทยธรรม เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ (ปีใหม่ไทย) ณ อุทยานนาควัตร จ.อุบลราชธานี

จากนั้นทรงเสด็จบำเพ็ญกุศลวัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี กราบนมัสการพระเจ้าใหญ่อินแปลง และเสด็จบำเพ็ญกุศล วัดทุ่งศรีวิไล อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี กราบนมัสการพระพุทธวิเศษ ซึ่งทั้ง 2วัด เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จังหวัดอุบลราชธานีมาแต่โบราณ โดยมีนายเมธา รุ่งฤทัยวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี หัวหน้าหน่วยงานราชการ และประชาชนเฝ้ารับเสด็จ

ประวัติอุทยานนาควัตร

อุทยานนาควัตรสร้างด้วยความศรัทธา โดยดร. พนพันธ์ เลิศจันทรางกูร จัดสร้างมูคค่า 27 ล้านบาท เพื่อเป็นที่ประทับของเจ้าปู่ศรีสุโธ เจ้าย่าศรีประทุมมา เเละยังจัดสร้างสมเด็จพระจักพรรดิ์ปรางเปิดโลก สูง 21เมตรเเบ่งเป็น 4โซน โซนที่ 1 ที่ประดิษฐานพระบรามสาริกธาตุ โซนที่ 2 สวยหิมพานห์มีสัตว์ในวรรณคดี 44 ตัว โซนที่ 3 เป็นถ้ำแก้วจักรพรรดิ โซนที่ 4 อานาจักรขอมทุกอย่างสร้างด้วยศรัทธา

ประวัติวัดมหาวนาราม

วัดมหาวนาราม เดิมชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ นิยมเรียกว่า วัดป่าใหญ่ เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่บนถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

พระปทุมวรราชสุริยวงศ์(ท้าวคำผง – ต้นสายสกุล ” ณ อุบล ” ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งชื่อว่า วัดหลวง เพื่อให้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป เมื่อพระมหาเถระได้เข้ามาอยู่จำพรรษาแล้วท่านเห็นว่า วัดนี้เป็นวัดบ้าน หรือ ฝ่ายคามวาสี ไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรม วิปัสสนากรรมฐาน จึงได้หาสถานที่ใหม่ คือ ป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือ 100 เส้น มีหนองน้ำ ชื่อว่า หนองสะพัง เป็นสถานที่อันสงบวิเวก เหมาะจึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ (พ.ศ. 2322) ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อให้คู่กับวัดหลวงซึ่งก่อตั้งขึ้นก่อนแล้วนั้น แต่ก็ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เจ้าเมืองคือ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง – ต้นสายสกุล ” ณ อุบล ” ) ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อนเมื่อ พ.ศ. 2338)

พ.ศ. 2348 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม – ต้นสายสกุล ” พรหมวงศานนท์ ” ) ได้มาก่อสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ต่อจนสำเร็จใน พ.ศ. 2350 และได้ยกฐานะเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง (มีหลักฐานการสร้างวัดอยู่ที่ ศิลาจารึก ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง (ด้านซ้าย) ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง ระบุปีที่สร้างวัดนี้ ตรงกับ พ.ศ. 2350) โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปพระอินแปง หรือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง

พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดมหาวัน หรือ วัดป่าใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามสมัยนิยมเรียกว่า วัดมหาวนาราม ความหมายของวัด ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม คือ แปลว่า ป่าใหญ่ วัดนี้ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ฯ ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

ประวัติพระเจ้าอินแปลง

การก่อสร้างพระเจ้าอินแปงนั้นได้รับคำกล่าวขานว่า เมื่อช่างได้ปั้นพระเจ้าอินแปง จนกระทั่งถึงบริเวณพระพักตร์ ก็ได้มีฝนตก ฟ้าร้องอยู่ตลอดเวลา ใกล้จะเสร็จอยู่แล้ว เพราะเหลือแต่การตกแต่งให้สวยงามเท่านั้น จึงได้พากันเลิกงานปั้นพระพักตร์ไว้ก่อน จากนั้นได้พากันกลับบ้าน พอถึงตกดึกก็ได้มีแสงสว่างเต็มบริเวณวัดไปหมด และเกิดลำแสงพวยพุ่งสู่อากาศ ผู้คนก็ต่างตื่นตกใจและวิ่งมาดูในวัด ก็ไม่เห็นมีอะไร จึงกลับสู่บ้านเรือนของตน พอรุ่งเช้าก็ปรากฏว่า พระพักตร์ที่ยังตกแต่งไม่เสร็จนั้นก็ได้สำเร็จเรียบร้อยสวยงามเป็นอย่างยิ่ง พอเห็นเป็นอย่างนั้น ชาวบ้านก็พูดว่าเทวดามาสร้าง พระอินทร์แปลงร่างมาสร้าง แปลงร่างลงมาเป็นตาผ้าขาวมาสร้าง จึงได้สวยงามอย่างนี้ ถ้าเป็นคนธรรมดามาสร้างจะไม่สวยงามได้เพียงนี้ เหตุนั้นจึงได้ขนานนามว่า “พระเจ้าอินแปง” และต่อมาจึงเรียกว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง จึงเกิดความเลื่อมใส และเชื่อมั่นว่าการที่พระพักตร์ของพระองค์พระเจ้าอินแปง ได้รับการตกแต่งจากพระอินทร์ ซึ่งแสดงถึงความความมหัศจรรย์ในพุทธานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญบารมีแห่งพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา บารมีแห่งเทวานุภาพขององค์อัมรินทราธิราช

ประวัติวัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ตามที่มีการบันทึกไว้ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา ตั้งอยู่กลางทุ่งนา มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปศิลาแลง ปางนาคปรก ศิลปะสมัยขอม จํานวน 2 องค์ มีนามว่า พระพุทธวิเศษ และพระชัยสิทธิ์ และพระพุทธรูปยืน มีนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์

วัดทุ่งศรีวิไล ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2340 เดิมที่ดินที่ตั้งวัดนี้เป็นอุทยานของธิดาแห่งเจ้าเมืองชีชวน ชื่อว่า พระนางเจียงได บริเวณวัดมีใบเสมาหลายชั้นล้อมรอบอุโบสถ และวิหารหลังเก่าไปจนถึงกำแพงรอบวัด ทุกทิศตลอดทั้งสระน้ำใหญ่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรการได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร การบริหารและ การปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ ทราบนาม คือรูปที่ 1 พระญาท่านด้าน รูปที่ 2 ญาครูกัน รูปที่ 3 หลวงปู่หนู (พระครูคัมภีรวุฒาจารย์) รูปที่ 4 พระครูสุนทรสุตกิจ (มณี จิรธมฺโม ผ่องแผ้ว) เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไล และรองเจ้าคณะอำเภอเขื่องใน

ประวัติพระพุทธวิเศษ

หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกสร้างด้วยหินศิลาแลง หน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ในยุคทวารวดี อายุ 1000 กว่าปี โดยมีหลวงพ่อพระพุทธชัยสิทธิ์ อยู่เบื้องขวา หลวงพ่อพระร่วงโรจนฤทธิ์ อยู่เบื้องซ้ายซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี