วัดละหาร จ.นนทบุรี สืบทอดบุญใหญ่ “กวนข้าวทิพย์” เนื่องในวันวิสาขบูชา

0
935

เมื่อวันที่ 13 พ.ค.65 ที่วัดละหาร อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พระครูสิริธรรมภาณ เจ้าอาวาสวัดละหารพร้อมด้วย น.ส.โฉมเฉลา สงวนพรรค รองนายกเทศมนตรีเมืองบางบัวทอง นางเอมอร ไม้งาม รองปลัดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ร่วมเป็นประธานเปิดงานประเพณีกวนข้าวทิพย์ เพื่อสืบทอดประเพณีทางพระพุทธศาสนาโดยมีพุทธศาสนิกชน ศิษยานุศิษย์จากทั่วสารทิศจำนวนมาก ทยอยเดินทางร่วมในพิธี

การทำพิธีกวนข้าวทิพย์ จะมีดินฟ้าเทวดา 5 องค์ นางฟ้าทำพิธี 9 องค์ ส่วนผสมมีมะพร้าว น้ำตาล ถั่ว งา น้ำผึ้ง กะทิสด นมข้น ผลไม้ รวบรวมเป็นวัตถุดิบในการปรุงข้าวมธุปายาสหรือกวนข้าวทิพย์ โดยในปีนี้ค่อนข้างจะเงียบเหงา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะวัดละหารที่มีหลวงพ่อพระครูสิริธรรมภาณ เจ้าอาวาส เป็นการหลอมรวมความสมัครสมานสามัคคีของศิษยานุศิษย์ ในการร่วมกิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้นำแนวทางให้ญาติโยม ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

สำหรับประวัติประเพณีกวนข้าวทิพย์ ถือเป็นบุญใหญ่อีกบุญหนึ่งตามประเพณีฮีต 12 คอง 14 เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่ปะปนกับพิธีกรรมของศาสนาพุทธ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวายพระโคตมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์ ในประเทศไทย ชาวบ้านจะทำในเทศกาลออกพรรษา ถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นการสักการบูชา ถือเป็นสิริมงคลกับตนเอง การกวนข้าวทิพย์ต้องอาศัยความสามัคคีจากชาวบ้านจึงจะสำเร็จลงได้แต่ละท้องที่มีพิธีการกวนข้าวทิพย์คล้ายคลึงกัน เริ่มแรกจะมีการจัดโต๊ะหมู่บูชา บริเวณที่จะกวนข้าวทิพย์ อาจจะทำเป็นปะรำพิธี โดยโยงด้ายสายสิญจน์จากพระพุทธรูปมายังปะรำพิธี ซึ่งวงด้ายสายสิญจน์เป็นสี่เหลี่ยม มุมทั้งสี่ตั้งฉัตร 7 ชั้น ขันหมากเบ็งเป็นเครื่องสักการบูชา  นับว่าวัดละหารได้สืบทอดประเพณีไปถึงรุ่นลูกหลานอย่างแท้จริง

*****************************************************************