หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศลถวายทักษิณานุปทาน แด่สมเด็จเจ้าฟ้าต้นราชสกุล

0
1026

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.64 หม่อมเจ้าอุทัยกัญกัญญา ภาณุพันธุ์ เสด็จบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน ถวายแด่สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงวรเดช (ทูลกระหม่อมปู่) บิดาแห่งกรมไปรษณีย์ไทย ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์ และถวายแด่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยะเดช (เสด็จพ่อ) ณ วัดบ้านเหล่างิ้ว อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด โดยมีพระครูปลัดหฤษฎ์ ญาณกาโร เจ้าอาวาส เป็นประธานคณะสงฆ์

หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์  เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช ประสูติแต่ หม่อมพเยาว์ ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม นัยนันท์) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชันษาเพียง 9 เดือน พระบิดาได้สิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าอุทัยกัญญามีพระโสทรเชษฐภาดาองค์เดียวคือ หม่อมเจ้านิพัทธพันธุพงศ์ ภาณุพันธุ์ (สิ้นชีพตักษัยแล้ว)

หม่อมเจ้าหญิงอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ทรงเข้ารับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 8

ทรงเสด็จการกุศล และเยี่ยมประชาชนบ่อยครั้ง โดยส่วนมากเป็นการส่วนองค์ เพื่อให้มิให้ประชาชนต้องเดือดร้อน และเพื่อจะได้ทรงทราบถึงชีวิตที่แท้จริงของประชาชน แม้จะมีพระชันษาสูงก็ยังทรงงานอยู่ตลอดจนปัจจุบัน

ทั้งนี้ทรงเสด็จชมหอโหวด แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ที่ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด ถนนสุริยเดชบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มีความสูงกว่า 101 เมตร หรือเท่ากับอาคารสูงกว่า 33 ชั้น ฐานด้านล่างกว้าง 30 เมตร ยอดโหวดกว้าง 20 เมตร รวมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 3,621 ตารางเมตร ภายในอาคารมี ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ ภัตตาคาร พิพิธภัณฑ์เมืองร้อยเอ็ด และ จุดชมวิวที่เปิดโล่งเพื่อให้นักท่องเที่ยวชมความสวยงามของเมืองร้อยเอ็ดได้แบบ 360 องศา ในส่วนของชื่อ หอโหวด นั้น มาจาก โหวด ที่หมายถึง เครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองร้อยเอ็ด แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน ซึ่งหอนี้เป็นรูปทรงของโหวดดังกล่าวอันสะท้อนตัวตน และอัตลักษณ์ของเมืองร้อยเอ็ด และส่วนบริเวณที่เป็นไฮไลท์ของสถานที่นี้ คือในส่วนบริเวณของ พื้นที่กระจกลอยฟ้า Sky Walk และกิจกรรมแอดเวนเจอร์ อย่างการนั่งกระเช้าห้อยลวดสลิง ขึ้นลงหอโหวดมีการเก็บค่าบริการขึ้นชมในอัตรา 30-50 บาท / ท่าน ผู้ที่มีอายุ 71 ปีขึ้นไปและเด็กเล็กขึ้นชมฟรี  เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 – 21.00 น.

และทรงเสด็จศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ ตำบลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นโครงการพัฒนาและเพิ่มแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นผสมผสานกับวัฒนธรรมของอีสานให้กระจายไปในภูมิภาค ทำให้เกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดความสนใจที่จะศึกษา เกิดความสนุกสนานทางด้านวิทยาศาสตร์ ภายในจะมีห้องจัดแสดงความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ และมีการจัดนิทัศการต่างๆมากมายให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปศึกษา รวมทั้งยังมีค่ายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจอีกด้วย

ประวัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 วางพื้นฐานและปัจจัยเร่งให้เกิดการปฏิรูปทั้งภาคการเมืองและภาคสังคม ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) มีเป้าหมายหลักเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศระยะยาวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงมุ่งพัฒนาคุณภาพประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ควรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตามธรรมชาติของมนุษย์และกฎเกณฑ์ของสังคมไทย ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง รู้สึกรัก หวงแหน และตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น ด้วยการระดมทรัพยากรบุคคลจากทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาผู้คนและสังคม