สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) เททององค์พระรูปเหมือนหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์

0
1669

เมื่อวันพุธที่ 18 ก.ย. 2562 เวลา 18.39 น.​ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี(ท่านเจ้าประคุณสมเด็จธงชัย)​ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธีเททององค์พระรูปเหมือน​ หลวงพ่อโต​ วัดป่าเลไลยก์​ จ.สุพรรณบุรี​ (พระประจำวันพุธกลางคืน)​ พระราหูเทวา​ สุริยคราส​ จันทรคราส​ ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีนายจิรชัย​ มูลทองโร่ย​ สมาชิกวุฒิสภา​ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ พร้อมด้วย พล.อ.ธวัชชัย​ สมุทรสาคร​ สมาชิกวุฒิสภา​ อดีตแม่ทัพภาคที่​ 2 พล.อ.ธงชัย​ เกื้อสกุล​ เลขาธิการ​ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พล.อ.ก้องเกียรติ​ พลขันธ์​  อดีต​ ผอ.สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง พล.ร.อ.สุชีพ​ หวังไมตรี​ อดีต​ สนช.​ อดีต​ ผบ.กองเรือยุทธการ พล.ร.อ.วรรณพล​ กล่อมแก้ว​ ศปก.พิเศษ​ ทร.  พล.ต.อ.มนู​ เมฆหมอก​ รอง​ ผบ.ตร. พล.ร.ต.ประกายพฤกษ์​ ศรีฟ้า​ บก.ทร.  พล.ต.ต.จิรพัฒน์​ ภูมิจิตร​ รอง​ ผบช.น. พล.ต.ต.สัมฤทธิ์​ ตงเต๊า  ผบก.น.8 พล.ต.ต.สุภธีร์​ บุญครอง​ ผบก.สส.ภ.1 พล.ต.ต.กิตติพันธุ์​ จุนทการ  บก.บชน.

นายจิตติ​ ตั้งสิทธิ์ภักดี​ ประธานหอการค้าไทยจีน ดร.แสงชัย​ โสตถีวรกุล​ นายกสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย ดร.กิตติ​ อิทธิภากร​ ประธาน​ สหสมาคมตระกูลแซ่แห่งประเทศไทย นายสุชาติ​ เศรษฐีวรรณ​ อุปนายก​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย​ รองประธาน​ หอการค้าไทยจีน นายจิ้ง​ พิพัฒน์เวช​ อุปนายก​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย​  นายยรรยงค์​ ปฐมศักดิ์​ อุปนายก​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย​ รองประธานหอการค้าไทยจีน​  นายวิวัฒน์​ เวศย์ไกรศรี​ รองประธานหอการค้าไทยจีน​ นายชิม​ ชินวิริยกูล  อุปนายก​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย​  นายบุญยงค์​ ยงเจริญรัฐ​ รองประธานหอการค้าไทยจีน​ นายชาญวิทย์​ หิรัญอัศว์​ ประธานกรรมการ​ รพ.เทียนฟ้ามูลนิธิ นายกิตติพงษ์​ เตรัตนชัย​ เลขาธิการ​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย​ นายสมัย​ กวักเพฑูรย์  ผอ.การเงิน​ หอการค้าไทยจีน​ นายสุพจน์​ วงศ์จิรัฐติกาล​ เลขาธิการ​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย​  นายวิทยา​ วัฒนโสภณวงศ์​ นายกสมาคม​ เผยแพร่คุณธรรมเต็กก่าจีจินเกาะ นายสุขุม​ มีพันแสน​ นายกสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ​ ประธานกรรมการ​ อมตลันตารีสอรท์ นายสุกิจ​ กมลศิริวัฒน์​  ผู้ตรวจสอบ​ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย คุณนวพร​ ภาเกียรติสกุล​ ประธานกรรมการ​ บ.ตาดี​ กรุ๊ป​ จก.​ ประธานกรรมการ​ THAI ZHONG. TOWER พ.ต.อ.ไพโรจน์​ จิรชนานนท์​ กก.ผจก. บ.เอราวัณประกันภัย​ จก. พร้อมทั้งคหบดีมากมายร่วมในพิธี

จำนวนการจัดสร้าง ดังนี้ เนื้อทองคำ 112 องค์ เนื้อเงิน 299 องค์ เนื้อสัมฤทธิ์ 112 องค์ เนื้อทองเหลือง 1,499 องค์ ปลุกเสก 12 วาระ ทุกวันพุธกลางคืน(ตามกำลังพระราหูเทวา)​ เริ่มปลุกวาระที่ 1 เสก วันที่ 9 ตุลาคม 2562

วาระที่ 12 ปลุกเสก และสมโภชน์ วันที่ 25 ธันวาคม 2562 สมโภชหน้าองค์​ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ โดยทุกๆ ครั้งปลุกเสกเดี่ยวโดยพระคณาจารย์ 12 รูป ตามกำลังพระราหูเทวา

ในพิธีเททองมี พระคณาจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต 4 ทิศ หลวงพ่อสะอาด​ วัดเขาแก้ว​ อ.พยุหะคีรี​ จ.นครสวรรค์​ อายุ 85 ปี ศิษย์เอกพุทธาคม​ หลวงพ่อกัน​ วัดเขาแก้ว​ อ.พยุหะคีรี​ จ.นครสวรรค์

หลวงพ่อเอื้อน​ วัดวังแดงใต้​ อ.ท่าเรือ​ จ.อยุธยา​ อายุ 80 ปี ศิษย์เอกพุทธาคม​ หลวงพ่อตาบ​ วัดมะขามเรียง​ จ.สระบุรี​

หลวงพ่อแจ่ม​ วัดวังแดงเหนือ​ อ.ท่าเรือ​ จ.อยุธยา

หลวงพ่ออวยพร​ วัดดอนยายหอม​ อ.เมือง​ จ.นครปฐม​ อายุ 75  ปี ศิษย์เอกพุทธาคม​ หลวงพ่อเงิน​ หลวงพ่อแช่ม​ วัดดอนยายหอม​ อ.เมือง​ จ.นครปฐม

วัตถุประสงค์การสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อความสามัคคีชาวพุทธไทย-จีน และสืบสานตำนานงานศิลป์หล่อพระแบบโบราณ

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างเป็นอย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณะใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย

พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฏอยู่ วัดป่าเลไลยก์เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาว์วัยได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณนาไว้ใน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งมีดังนี้

 

“…ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณ

จะทำบุญให้ทานการศรัทธา

หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด

ก่อพระเจดีย์ทรายเรียงรายไป

ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า

ต่างมาที่วัดป่าเลไลยก์

ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่

จะเลี้ยงพระกะไว้วันพรุ่งนี้…”

งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.ฮวด โทร. 09 32251915