พลังศรัทธาแห่งพุทธฯพม่า – ล้านนา ร่วมในพิธีประชุมเพลิงสรีระสังขาร “พระภัททันตะ” อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ แห่งสหภาพเมียนมา

0
1864

พิธีประชุมเพลิงสรีระสังขาร หลวงพ่อพระภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ สานธชสิริปวระ ธัมมาจริยะ อัครมหาบัณฑิต (ดร.) อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ เมื่อวันที่ ๑๓ ม.ค. ๒๕๕๒ ณ บริเวณวัดไชยมงคล หรือวัดจองคา ถ.สนามบิน อ.เมือง จ.ลำปาง ที่ละสังขารด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2555 ร่วมสิริอายุ 92 ปี 72 พรรษา ประชาชนชาวไทยจากทั่วสารทิศที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อ ต่างก็พากันเดินทางกราบไหว้สรีระสังขารที่ตั้งอยู่บนปราสาทนกการะเวก กันอย่างไม่ขาดสาย รวมทั้งคณะสงฆ์และประชาชาวเมียนมาอีกนับพันคน นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางส่วนที่ไม่สามารถเข้ามากราบไหว้สรีระสังขารของหลวงพ่ออย่างใกล้ชิดถึงหน้าปราสาทได้ ขณะที่อีกหลายคนล้นออกไปจนถึงด้านหน้าวัด

ตลอดทั้ง ๒ วันของการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้กราบไหว้สรีระสังขารของหลวงพ่อเป็นครั้งสุดท้าย มีประชาชนทยอยกันมาร่วมงานหลายหมื่นคนคน นอกจากนี้ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่นำอาหารคาวหวานมาร่วมแจกทานให้ประชาชนได้รับประทานกันอย่างไม่อั้นตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ

สำหรับพิธีประชุมเพลิงสรีระสังขารของอดีตเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ รูปแบบพิธีการทั้งหมดเป็นพิธีการในรูปแบบ การประชุมเพลิงพระอริยะสงฆ์เจ้าของชาวเมียนมาทุกขั้นตอน

พระภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ เกิดที่หมู่บ้านต่าสี่ อำเภอเหย่สะโจ่ จังหวัดปขุกกู่ ประเทศสหภาพเมียนมา โดยเป็นบุตรชายคนที่ ๓ ของนางหง่วยหยี่ และนายโภเตด ด้วยโสรดิถี มกรนักขัตตฤกษ์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ (จุลศักราช ๑๒๘๒ คริสตศักราช ๑๙๒๑) ชื่อว่าด.ช.ตันหม่อง มีพี่น้องร่วมกัน ๔ คน

ตระกูลนี้มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า เมื่อเห็นว่าหมู่บ้านต่าสี่ยังไม่มีวัดเลย จึงได้ร่วมกันสร้างวัดต่าสี่ให้เป็นวัดประจำหมู่บ้าน และได้สร้างเจดีย์ทองประดิษฐานไว้ในวัดนั้นด้วย ซึ่งเป็นบรรยากาศที่น้อมอัธยาศัยของลูกหลานทุกคนให้ได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์

เมื่อเด็กชายตันหม่องอายุได้ ๗ ขวบ มารดาบิดาได้นำท่านไปฝากไว้ให้เป็นลูกศิษย์วัด กับท่านอาจารย์อูญาณะ เจ้าอาวาสวัดโตงทัตในหมู่บ้านต่าสี่ ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๐ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในเส้นทางพระพุทธศาสนาของเด็กชายตันหม่อง เธอจึงได้เรียนหนังสือตั้งแต่ชั้นอนุบาลและชั้นประถม แม้จะเป็นเด็กวัดตัวน้อยๆ ท่านก็มีความทรงจำที่เป็นเลิศกว่าผู้อื่น สามารถทรงจำบทสวดมนต์ต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทรงจำพระปริตร ได้ทั้ง ๑๑ สูตร ทรงจำคัมภีร์นมักการะ คัมภีร์โลกนีติ ชยมังคลคาถา ชินบัญชร นาสนกรรม ทัณฑกรรม เสขิยวัตร และขันธกะ ๑๔ วรรค ทั้งภาคบาลีและคำแปล แม้กระทั่งโหราศาสตร์ที่นับตัวเลขด้วยคำภาษาบาลี ท่านก็ได้เรียนจนเข้าใจและจำได้ไม่หลงลืม

เมื่อถึงปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ท่านมีอายุ ๑๔ ปี ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร มีฉายาภาษาบาลีว่า “สามเณรธัมมานันทะ” โดยมีท่านอาจารย์อูจารินทะ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ให้ท่านท่องจำกัจจายนสูตรและคำแปล ตามคัมภีรย์กัจจายนสุตตัตถะ ทั้งได้สอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ท่านด้วย  ต่อมาได้ย้ายไปอยู่วัดปัตตปิณฑิการาม ในตัวอำเภอเหย่สะโจ่ โดยมีอาจารย์อูอุตตระเป็นเจ้าอาวาสและอาจารย์สอน ได้เรียนคัมภีร์เพิ่มเติมอีกหลายคัมภีร์ คือ คัมภีร์พาลาวตาระ กัจจายนะ สัททนีติสุตตมาลา อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระวินัยปิฏก

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๓ โดยมีท่านอาจารย์อูสุชาตะ ผู้เป็นศิษย์ท่านอาจารย์อูอุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมาวัดหญ่องเป่งต่า จังหวัดมอละไมฺยจุน  มีนายพละกับนางเส่งมยะ ผู้อยู่บ้านเลขที่ ๒๐ ถนนสายที่สี่ ในจังหวัดมอละไมฺยจุน เป็นโยมอุปัฎฐากถวายเครื่องอัฎฐบริขาร นับว่าท่านได้ทำเพศแห่งสมณะให้มีความมั่นคงถาวรในพระพุทธศาสนา อันเข้าใกล้มรรคผลและนิพพานแล้ว

หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านอาจารย์อูอุตตระ ได้ส่งท่านไปศึกษาพระปริยัตติธรรมต่อ ในสำนักของท่านอาจารย์อูโกสัลลาภิวังสะ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล จึงได้ศึกษาคัมภีร์ไวยากรณ์ภาษาบาลี คือคัมภีร์ปทรูปสิทธิและคัมภีร์ปทวิจยะ ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันดะเลเป็นเป้าหมายในการโจมตีทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นเมืองหลวงอันดับสอง รองจากกรุงย่างกุ้ง จึงถูกโจมตีอย่างหนัก เป็นเหตุให้ท่านอาจารย์อูธัมมานันทะ ๗๔ ปี ของท่าน ที่ได้อยู่ในร่มผ้ากาสาวพัตร์ ช่างเป็นชีวิตที่แสนประเสริฐสูงสุด บัดนี้ ท่านดำรงอยู่ในฐานะผู้มีวัยอันเจริญครบ ๘๘ ปี ผู้มีอัธยาศัยอันถูกหล่อหลอมกล่อมเกลาให้งดงามด้วยวิชชาคือพระปริยัติศาสนาที่ได้ศึกษามาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ งดงามด้วยจรณะคือปฏิปทาอันเป็นข้อวัตรปฏิบัติอันคล้อยตามหลักพระสัทธรรมที่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดี งดงามด้วยโอวาทานุสาสนีที่ได้ตักเตือนพร่ำสอนมวลหมู่ศิษย์ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน

ความงดงาม ความน่าเลื่อมใส ข้อวัตรปฏิบัติที่บริบูรณ์ของท่าน ศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ต่างชื่นชมโสมนัส เคารพยำเกรง ถือปฏิบัติเอาเป็นแบบอย่าง พากันเรียกขานด้วยความเคารพและอบอุ่นยิ่ง ว่า “หลวงพ่อ ภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ”

ด้วยผลงานด้านการสอนและการเรียบเรียงรจนาคัมภีร์อีกมายมายหลายคัมภีร์ รัฐบาลประเทศสภาพพม่า ได้รับทราบเกียรติคุณความดีในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของท่าน จึงได้น้อมถวายตำแหน่ง “อัครมหาบัณฑิต” แด่หลวงพ่อ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ จึงเป็นที่รู้จักกันในมงคลนามว่า “หลวงพ่อ ภัททันตะ ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต”  แม้มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของประเทศไทย ก็ได้ทราบเกียรติคุณของหลวงพ่อ จึงได้น้อมถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ท่าน

แม้เวลานี้ หลวงพ่อของพวกเรา จะชราภาพมากแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่ได้คำนึงถึงความชราภาพของตนเองเลย ยังมีดวงหทัยอันเต็มเปี่ยมด้วยเมตตา มีความอุตสาหะพร่ำสอนศิษยานุศิษย์ให้พยายามศึกษาเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอ มวลศิษยานุศิษย์เล่า ก็พากันถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะมาเล็งเห็นโทษที่ไม่ปฏิบัติตาม และเล็งเห็นประโยชน์อันประเสริฐที่ได้ปฏิบัติตาม จึงได้ช่วยกันขวนขวาย  จัดการเรียนการสอนตามแนวที่หลวงพ่อได้สอนตนมา ให้สืบทอดถึงรุ่นลูกหลานต่อไปในอนาคต พากันหวังอยู่ว่า หลวงพ่อจะเบาใจและวางใจได้ว่า พระพุทธศาสนาที่แผ่ซ่านอยู่ในสายเลือดของท่านนั้น ได้รับการสืบทอดแล้วอย่างลงตัว สมกับเจตนารมย์ที่ได้ตั้งอธิษฐานไว้ว่า “จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา” ขอให้พระสัทธรรมจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ขอให้ชนทั้งหลายจงมีความเคารพยำเกรงในพระธรรม

เมื่อวันที่ ๑๘-๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางกลับไปเยือนบ้านเกิดเพื่อสงเคราะห์หมู่ญาติ เพื่อเยี่ยมสำนักเรียนที่เคยเรียนเคยสอน และเยี่ยมสำนักที่เคยอยู่อาศัย  เพื่อย้อนรอยสู่อดีตอันอบอุ่น สู่ความทรงจำอันยากจะลืมเลือน ที่อยากบอกเล่าให้ลูกศิษย์ทุกคนได้รับฟัง เมื่อเป็นโอกาสดีอย่างนี้ พวกเราเหล่าศิษย์จึงขอติดตามหลวงพ่อไปด้วย เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง อย่างภาคภูมิใจและชื่นชมโสมนัส

Cr. ข้อมูลประวัติจากหนังสืองานละสังขาร 100 วันหลวงพ่อใหญ่ พระมหาสมปอง มุทิโต : รวบรวม

Cr. ข้อมูลเมรุปราสาทพญานกหัสดีลิงค์ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=47415

ไตรเทพ ไกรงู รายงาน