จาก “เฮือนฮ่วมแฮง” สู่ “ครัวปลาแดก” ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุบลราชธานี บุกเยือน “โคก หนอง นา พช.” อ.สว่างวีระวงศ์

0
335

หนุนปลูกผักสวนครัวและพืชสมุนไพร สร้างวัฒนธรรมการแบ่งปัน ขยายผลสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายภคิน ศรีวงศ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาระดับจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

สำหรับการลงพื้นที่สนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แปลงครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ของนางนฤดี ศรีวงศ์ บ้านบัวเทิง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ เอกสารสิทธิโฉนด พื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ เดิมพื้นที่ใช้ทำประโยชน์ในการทำนาและสวนพุทรา สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทำโคกหนองนา 3 ไร่ ใช้แบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชนสัดส่วนแบบ 1:3 ประเภทดินร่วนปนทราย และดำเนินการขุดปรับพื้นที่ รวมถึงดำเนินการกิจกรรมเอามื้อสามัคคีเป็นที่เรียบร้อย ในส่วนของกิจกรรมในวันนี้ ได้ทำการขุดหลุมปลูกต้นไม้ ห่มดินด้วยฟาง เพิ่มเติม และไถปรับพื้นที่ “โคก หนอง นา ครัวปลาแดก” ร่วมกับครอบครัวและบุตรหลาน ถือเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความมั่นคงทางอาหาร และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเอง ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

โอกาสนี้ นายอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาระดับจังหวัด จังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้คำแนะนำในการขับเคลื่อนแปลง “โคก หนอง นา พช.” แห่งนี้ว่า “สำหรับพื้นที่แห่งนี้ ถือเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีชัยภูมิที่เหมาะสมในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารและธนาคารเมล็ดพันธุ์ผัก เพื่อแบ่งปันพี่น้องประชาชนต่อไปในอนาคต เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง อยู่ที่สูง มีความอุดมสมบูรณ์และใกล้แม่น้ำมูล นอกจากนั้นบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงยังได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยด้วย ดังนั้น จึงควรพัฒนาแปลง “โคก หนอง นา พช.” แห่งนี้ โดยปลูกพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพร เพื่อเป็นแหล่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างวัฒนธรรมในการแบ่งปัน เป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์ผักและครัวของชุมชน หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ครัวปลาแดก” ตามภาษาท้องถิ่นของชาวไทยอีสาน ซึ่งสะท้อนถึงการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายทำมาหากินแบบคนจนและอยู่กับธรรมชาติให้มากที่สุด เมื่อเหลือเก็บก็แบ่งปันให้กับพี่น้องและเพื่อนบ้าน ถือเป็นสังคมแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจะสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับแปลง “โคก หนอง นา เฮือนฮ่วมแฮง” ของตนที่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว” นายอัมพร กล่าวด้วยความมุ่งมั่น

{“subsource”:”done_button”,”uid”:”D2F43778-3920-419A-BFF7-96B99DEF5127_1629626137507″,”source”:”editor”,”origin”:”gallery”,”is_remix”:false,”used_sources”:”{“sources”:[],”version”:1}”,”source_sid”:”D2F43778-3920-419A-BFF7-96B99DEF5127_1629626137526″,”premium_sources”:[],”fte_sources”:[]}
ขณะที่ นางนฤดี ศรีวงศ์ เจ้าของแปลง “โคก หนอง นา ครัวปลาแดก” ได้เปิดเผยความรู้สึกกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฯ ว่า “ขอบคุณรัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ ส่วนราชการ ตลอดจนนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และผู้นำจิตอาสาทุกท่าน ที่ได้ช่วยเหลือสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมาก ตนรู้สึกดีใจและมีความสุขมากได้ที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยทราบข่าวการรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์การรับสมัครผ่านสื่อออนไลน์ จนได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมฯ ณ ศูนย์เรียนรู้ทุนชุมชน (ศูนย์สารภีท่าช้าง) อำเภอสว่างวีระวงศ์ ตลอดระยะเวลา 4 วัน 5 คืน จนมีการขุดปรับพื้นที่แปลงตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชนและหลักกสิกรรมธรรมชาติ เสร็จสิ้นตามแบบที่กำหนด และขุดสระเพื่อเก็บน้ำจะทำให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี เกิดความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งตนพึงพอใจในผลงานการขุดปรับพื้นที่อย่างมาก”

นางนฤดี ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้ง โดยเฉพาะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านเป็นคนอำเภอสว่างวีระวงศ์ แห่งนี้ ที่ได้ช่วยพัฒนาบ้านเกิดของท่าน ตลอดจนสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ ที่ช่วยเหลือและสนับสนุนพี่น้องประชาชนในยามที่กำลังประสบปัญหาจากภัยโควิด-19 ให้สามารถพึ่งตนเอง เลี้ยงชีพและลดการพึ่งพาจากภายนอก ในอนาคตตนจะมุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ให้ผู้อื่นได้มาเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแบ่งปันความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น ตามแนวทางที่คุณอัมพร วาภพ ผู้นำอาสาพัฒนาบ้านเกิดได้แนะนำต่อไป” เจ้าของแปลง “โคก หนอง นา ครัวปลาแดก” กล่าวด้วยความสุขและภาคภูมิใจ

งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี : ภาพข่าว/รายงาน