“กรมปกครองท้องถิ่น” จับมือ สสส. นำทีมลงพื้นที่ อ.บัวใหญ่ เสริมสร้างพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า

0
1021

วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเสมาใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดฝึกอบรมและปฏิบัติการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา โดยมีพระครูโอภาสจันทรังสี เจ้าอาวาสวัดบ้านเสมาใหญ่ นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่  อาจารย์ดิสสกร กุนธร ประธานมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา นางสาวบังอร บัวเมือง เลขามูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) ว่าที่ร้อยตรี ขรรค์ไชย ทันธิมา ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา นางไพรวัลย์ รักชาติเจริญ นายอำเภอบัวใหญ่ นายอุเทน ศรีนอก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสมาใหญ่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด และผู้นำชุมชน เข้าร่วม

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) และมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาโดยชุมชนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้วยสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และขยายผลไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่สนใจ

โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มศูนย์ฝึกอบรม จำนวน 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 12 จังหวัด ซึ่งในวันนี้ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเสมาใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีหน้าที่จัดฝึกอบรมที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์ต้นแบบประจำจังหวัด และผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด และ 2. กลุ่มศูนย์ต้นแบบประจำจังหวัด จำนวน 76 จังหวัดๆ ละ 1 ศูนย์ ซึ่งในวันนี้มีจำนวน 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน 6 จังหวัด และผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา และบุรีรัมย์

นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า การจัดกิจกรรมฝึกอบรมและปฏิบัติการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาในวันนี้ จะเป็นการถ่ายทอดความรู้แนวทางในการสร้างสนามเด็กเล่น ทั้งทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ดิสสกร กุนธร ประธานมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และท่านอาจารย์บังอร บัวเมือง เลขามูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา มาเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้และนำฝึกปฏิบัติสร้างสนามเด็กเล่น มีการฝึกอบรม เป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อให้บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 แห่ง และบุคลากรของสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ วิธีการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และแนวทางการบริหารจัดการสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา เพื่อสามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่สนใจต่อไป ซึ่งกรมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การอบรมในครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมดังกล่าว เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ ไปดำเนินการสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาในพื้นที่ของตนเองได้อย่างถูกต้องตามแนวทางของมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และร่วมกันพัฒนาเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีพัฒนาการสมบูรณ์ทุกด้านผ่านการเล่นสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา

และต้องขอขอบคุณ ท่านสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ ท่านอาจารย์ดิสสกร กุนธร ประธานมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ท่านอาจารย์บังอร บัวเมือง เลขามูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ท่านดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมขน (สำนัก 3) และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันดำเนินโครงการดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ ในการร่วมกันดูแลเด็กเล็กให้ได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความพร้อมที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับการศึกษาขั้นต่อไป ให้เด็กสามารถเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเด็กเล็กที่อายุระหว่าง 0-5 ปี เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาชีวิต ซึ่งสนามเด็กเล่นสร้างปัญญานี้ ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่เล่นของเด็กๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นที่รวมความรัก ความอบอุ่น และความร่วมมือของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ปู่ ย่า ตา ยาย วัด และชุมชนที่มาช่วยสนับสนุนความร่วมมือ ทั้งการบริจาคเงินที่ใช้ในการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ แรงกาย แรงใจ กรมฯ ก็มีความภูมิใจในโครงการนี้มาก ที่ให้งบประมาณสนับสนุนเพียง 100,000 บาท แต่เกิดความสำเร็จมหาศาลต่อเด็กๆ ในชุมชน และขอฝากทุกท่านด้วยว่า นอกเหนือจากการมีพื้นที่ให้เด็กได้เล่นและเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ จากสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาแล้ว ยังสามารถจัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการคัดแยกขยะ การทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียก การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด การจัดตั้งที่อ่านหนังสือ ท้องถิ่นรักการอ่าน การฝึกอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นเมือง รวมถึงการดำเนินการให้วัดเสมาใหญ่เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีการแสดงชื่อพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นด้วย

“ทั้งหมดนี้ก็เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรัก ความสามัคคีให้ทุกคนในสังคม ร่วมกันสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ใช้กลไกของทุกคนในท้องถิ่นมาเป็นพลังขับเคลื่อนสิ่งที่ดีให้กับลูกหลานของเรา เพราะพลังของการขับเคลื่อนเหล่านั้น จะสามารถเป็นแรงหนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ขยายวงของการพัฒนาการศึกษาของให้มีความยั่งยืนและกว้างไกลต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าว

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””